การรับมือเมื่อเกิดการสำลัก

You are currently viewing การรับมือเมื่อเกิดการสำลัก

การสำลัก คืออาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในช่องคอหรือหลอดลม และกีดขวางช่องทางการหายใจทำให้ไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ ซึ่งปัญหาการสำลักหรือการที่สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในทางเดินหายใจเป็นปัญหาที่มีความสำคัญ

สุขภาพ

การสำลัก

และอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

สาเหตุของการสำลักเกิดจากอะไร?

อาการของคนสำลักที่สังเกตเห็นได้โดยทั่วไปนั้น มักจะใช้มือจับที่คอของตนเอง แต่หากผู้ที่สำลักไม่ได้ส่งสัญญาณดังกล่าว ให้สังเกตอาการดังต่อไปนี้ เช่น หายใจไม่สะดวก หรือมีอาการหายใจแรงและเสียงดังผิดปกติ ไม่สามารถกลืนได้หรือใช้เวลานานกว่าปกติ พูดคุยตอบสนองไม่ได้ ไอแรงๆ ไม่ได้  ผิวหนัง ริมฝีปาก และเล็บเริ่มเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ เนื่องจากขาดออกซิเจน และขาดสติ ไม่รู้สึกตัว โดยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการสำลักดังต่อไปนี้

  • การสำลักในวัยผู้ใหญ่ นั้นมักเกิดจากเศษอาหาร การดื่มน้ำเร็วเกินไป หรือการทำกิจกรรมหลายๆ อย่างในขณะรับประทานอาหาร เช่น พูด หัวเราะ เป็นต้น บางครั้งฟันปลอมที่ยึดติดไม่แน่นพอ อาจเลื่อนหลุดเข้าไปในช่องคอหรือหลอดลม และกีดขวางช่องทางการหายใจ หรือทางเดินอาหารโดยไม่ได้ตั้งใจ
  • เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ปีซึ่งเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบค้นคว้า ทดลองด้วยตนเอง

จึงมักเอาสิ่งแปลกปลอมใส่ไปในช่องต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะช่องทางเดินหายใจ ได้แก่ รูจมูกและปาก ประกอบกับฟันกรามที่ยังขึ้นไม่ครบสมบูรณ์ทำให้ไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารชิ้นใหญ่ให้ละเอียดเพียงพอ จึงอาจเกิดการสำลักในระหว่างรับประทานอาหารและวิ่งเล่นไปด้วย

สำลัก

 

วิธีการรับมือเมื่อเกิดการสำลัก

  1. แจ้งให้ผู้สำลักทราบว่าจะทำการช่วยเหลือ
  2. ยืนซ้อนด้านหลังผู้สำลัก ประคองโน้มตัวไปด้านหน้า แล้วกดกระแทกที่ท้อง 5 ครั้ง โดยใช้แขนทั้ง 2 ข้าง โอบแนบกับผู้ที่สำลักเหนือสะดือ แต่ให้ต่ำกว่าระดับหน้าอก แล้วกำมือเป็นกำปั้น จากนั้นให้ดึงกระแทกกำปั้นเข้าหาตัวและขึ้นทางด้านบนอย่างเร็วและแรง ห้ามใช้วิธีการกระแทกที่ท้องกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี และหญิงที่กำลังตั้งครรภ์
  3. หากยังมีอาการสำลักอยู่ให้รีบโทรเรียกรถพยาบาล ระหว่างที่รอรถพยาบาลให้กระแทกที่ท้องซ้ำจนกว่าสิ่งที่แปลกปลอมที่ติดอยู่จะหลุดออกมา หรือจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง กรณีที่ผู้ที่สำลักหมดสติไป ให้ตรวจดูว่ายังหายใจอยู่หรือไม่ หากไม่หายใจ ให้ประคองผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นราบและเริ่มทำการกดหน้าอกหรือปั๊มหัวใจ ซึ่งการปั๊มหัวใจนั้นอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมที่ติดอยู่ในคอหลุดออกมาได้เช่นกันทั้งนี้ การสำลักอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น กรณีที่สำลักเพียงเล็กน้อยอาจเกิดการบาดเจ็บที่คอ หรืออาการระคายเคือง แต่หากสำลักวัตถุขนาดใหญ่ และเกิดการอุดกั้นหลอดลม อาจเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจได้

ป่วย